กีฬาวอลเล่ย์บอลในเอเชีย

ในปี 1924 ประเทศญี่ปุ่น ได้คิดระบบการเล่นแบบ 9 คน ซึ่งระบบนี้ได้นำมาใช้ในการแข่งขันภาคพื้นตะวันออกไกลครั้งที่ 8 ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ในปี 1927
ปี 1953 ทีมมหาวิทยาลัย Waseda (ชาย) แห่งประเทศญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาชิงชนะเลิศภายในประเทศสหรัฐอเมริกาที่เมือง Omaha และ Nebraska และได้มีแรงจูงใจให้นำเอาระบบการเล่น 6 คน เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น
ปี 1954 ได้มีการก่อตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย ขึ้นในกรุงมะนิลา ในโอกาสที่มีการแข่งขันเอเซียนเกมส์ ครั้งที่ 2 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Mr. Masaichi Nishikawa นายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น ในขณะนั้น แต่อย่างไรก็ตามมีข้อผูกพันว่าประเทศสมาชิกต้องเป็นสมาชิกของสหพันธ์
ปี 1955 ได้มีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 1 (ชาย) ขึ้นที่กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นที่ระลึกแก่สหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย และในครั้งนั้นประเทศอินเดียและญี่ปุ่นเป็นผู้ชนะเลิศประเภท 6 คน และ 9 คน ตามลำดับ

วอลเล่ย์บอลไทย

ในปี  พ.ศ.2477  กรมพลศึกษา  ได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น ได้อาจารย์นพคุณ  พงษ์สุวรรณ  เป็นผู้แปล  และในปีเดียวกันนี้เอง  กรมพลศึกษาเริ่มจัดให้มีการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลขึ้นเป็นครั้งแรกปี  พ.ศ.2500  ประเทศไทยได้จัดตั้งสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลขึ้น  และมีพลเอกสุรจิตต์    จารุเศรณี   เป็นนายกสมาคมคนแรก  เมื่อวันที่  1  พฤศจิกายน  2500  และได้รับชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย”    (Amateur olleyball  Association  of  Thailand)   และจัดการแข่งขันระบบ  12  คน (ข้างละ  6  คน)  

นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย

ที่มา  : http://www,thaivalleyball.or.th/

 

 

 

 

 ในปัจจุบันกีฬาวอลเลย์บอลเป็นกิจกรรมที่นิยมเล่นกันแพร่หลายใน    โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป    โดยจัดการเรียนการสอน  การจัดกิจกรรมหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งการจัดการแข่งขันมีอยู่เป็นประจำทุกปี  โดยการดำเนินงานของสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย  และหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร  กรมพลศึกษา  กีฬาทหาร  กีฬาแห่งชาติ  เป็นต้น            

                ทีมวอลเลย์บอลทั้งชายและหญิงของประเทศไทยจัดเป็นทีมชั้นนำของเอเชียโดยเฉพาะทีมหญิงจัดอยู่อันดับที่ 4  รองจากทีมอันดับ 1. จีน  2. เกาหลีใต้  และ 3. ญี่ปุ่น  นอกจากนี้ทีมวอลเลย์บอลหญิงของไทยยังสามารถผ่านเข้าไปแข่งขันชิงแชมป์โลกและยังไม่ประสพความสำเร็จ แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาวงการวอลเลย์บอลของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ทีมชั้นนำของโลกต่อไป

ประวัติวอลเล่ย์บอล

ประวัติวอลเลย์บอล

กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men’s Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ

กติกาวอลเลย์บอล

สนามแข่งขัน

– จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง

– เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร

– แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร

– เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน

– เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี

ตาข่าย

– จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 – 10 เมตร

– ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม

– ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร

ลูกวอลเลย์บอล

– เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม

– ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้

– ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม

ผู้เล่น

– ในทีมจะต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน และแพทย์ 1 คน

– ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน

– สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก

– การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8×2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย

วิธีการเล่น

– ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุกตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา

– การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที

– ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ

– เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น

– สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์

– สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที

– ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง

การคิดคะแนน

– ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ

– หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น